วันสำคัญในพระพุทธศาสนา เป็นวันที่มีเหตุการณ์ที่สำคัญ อันเนื่องด้วยพระรัตนตรัย คือพระพุทธเจ้า พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า และพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า เหตุการณ์ที่สำคัญดังกล่าว เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่พุทธศาสนิกชนทุกหมู่เหล่า  คือบริษัทสี่อันได้แก่ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกา ให้น้อมรำลึกถึงคุณของพระรัตนตรัยในหลักที่สำคัญ เพื่อนำไปประพฤติปฏิบัติ เพื่อจรรโลงให้พระพุทธศาสนา ดำรงคงอยู่สถิตสถาพร เป็นคุณประโยชน์อันยิ่งใหญ่แก่ตนเองและแก่สัตว์โลกทั้งปวง ซึ่งมิใช่จำกัดอยู่เพียงมนุษยชาติเท่านั้น

 

1.   วันวิสาขบูชา    

การกำหนดวัน       ตรงกับวันเพ็ญ  15 ค่ำ  เดือน  6  ของทุกปี

 ความสำคัญของวัน       เป็นวันคล้ายกับวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ถือว่าเป็นวันพระพุทธเจ้า  ( Buddha Day )

หลักธรรมที่ทรงแสดงไว้ในวันนี้         อริยสัจ 4, ปฏิจจสมุปบาท

 ประวัติของการประกอบพิธี             ประเทศไทยเริ่มจัดพิธี สมัยสุโขทัย   ซึ่งได้รับธรรมเนียมมาจากประเทศศรีลังกา

 

2.  วันมาฆบูชา 

การกำหนดวัน        ตรงกับวันเพ็ญ  15  ค่ำ  เดือน  3  ของทุกปี

ความสำคัญของวัน         เป็นวันคล้ายกับวันที่พระพุทธเจ้าได้ทรงหลักธรรมที่เป็นหัวใจ

พระพุทธศาสนาที่ เรียกว่า  โอวาทปาฎิโมกข์  และถือว่าเป็นวัน จาตุรงคสันนิบาต คือวันที่มีการประชุมแห่งองค์ 4 ได้แก่.-

1.    พระอรหันตสาวกจำนวน 1,250 รูปมาประชุมกั 

 2.    พระอรหันตสาวกเหล่านั้นเป็นผู้พระพุทธเจ้าทรงบวชให้ 

3.    พระอรหันตสาวกเหล่านั้นมาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย

4.     เป็นวันเพ็ญ 15 ค่ำ  เดือน 3

            วันนี้ ถือว่าเป็นวันพระธรรม  (Dhamma Day)  และเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงปลงอายุสังขาร (การกำหนดว่าจะปรินิพพานอีก 3  เดือน) อีกด้วย

 หลักธรรมที่ทรงแสดงในวันนี้  โอวาทปาฏิโมกข์

ประวัติของการประกอบพิธี    ไม่ปรากฏว่าเคยทำมาก่อน เริ่มประกอบพิธีในประเทศไทย ในสมัยรัชกาล ที่ 4

 

3.  วันอาสาฬหบูชา   

การกำหนดวัน             ตรงกับวันเพ็ญ  15  ค่ำ  เดือน   8  ของทุกปี 

ความสำคัญของวัน            เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเป็นครั้งแรก  เป็นวันที่พระสงฆ์เกิดขึ้นครั้งแรกในโลก (วันที่พระสงฆ์ขอบวชเป็นครั้งแรก)และเป็นวันที่มีพระรัตนตรัยครบบริบูรณ์  ถือว่าเป็นวันพระสงฆ์   (Sangha Day)

หลักธรรมที่ทรงแสดงในวันนี้             พระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร   ซึ่งถือว่าเป็นพระธรรมเทศนากัณฑ์แรก

ประวัติของการประกอบพิธี    เริ่มประกอบพิธีครั้งแรกในประเทศไทย  เมื่อ พ.ศ.2500 ในรัชกาลที่ 9

 

4.  วันอัฏฐมีบูชา

  การกำหนดวัน             ตรงกับวันแรม  8  ค่ำ  เดือน  6  หลังวันวิสาขบูชา  7  วัน

  ความสำคัญของวัน           เป็นวันคล้ายกับวันถวายพระเพลิงพระสรีระของพระพุทธเจ้า           ปัจจุบันถือว่าเป็นวันบูชาพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า

      ประวัติของการประกอบพิธี              ยังไม่ได้ประกาศการประกอบพิธีเป็นทางราชการแต่ว่าพระสงฆ์จะประกอบพิธีกันเองภายในวัด มีญาติโยมที่รู้จักไปร่วมพิธีอยู่บ้าง

 

5.  วันเข้าพรรษา

 การกำหนดวัน                   ตรงกับวันแรม  1  ค่ำ เดือน  8 (หลังวันอาสาฬหบูชา 1 วัน) ของทุกปี

  ความสำคัญของวัน            เป็นวันที่พระภิกษุกำหนดไม่ไปเที่ยวพักแรมในฤดูฝนตามสถานที่ต่างๆ ตลอด 3เดือน   การเข้าพรรษ คือ การอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งตลอดเวลา  3 เดือน

จุดมุ่งหมายของการเข้าพรรษา

1.  เพื่อให้พระสงฆ์ได้ศึกษาพระธรรมวินัย และเตรียมตัวสำหรับการออกไปสั่งสอนประชาชน

2.  เพื่อให้ประชาชนได้นำบุตรหลายที่เป็นชายได้เข้ามาบวชเพื่อศึกษาธรรม

3.  เพื่อให้ประชาชนได้ฟังธรรมและฝึกปฏิบัติธรรมะกับพระสงฆ์ที่ตนนับถือ

      การปฏิบัติของชาวพุทธในเทศกาลเข้าพรรษา

1. ถวายผ้าอาบน้ำฝน

2. ถวายเทียนพรรษา

3. ถวายเครื่องไทยธรรมต่างๆ

4. นำลูกหลานไปบวช

5. อธิษฐานงดเหล้าและอบายมุขอื่น

6. อธิษฐานจะรักษาศีล  5 หรือศีล  8 (อุโบสถศีล)

 

6.  วันออกพรรษา 

การกำหนดวัน           ตรงกับวันขึ้น  15  ค่ำ  เดือน  11

ความสำคัญ เป็นวันที่สิ้นสุดการกำหนดการอยู่จำพรรษาของพระสงฆ์ตามพุทธบัญญัติและเป็นวันที่พระสงฆ์ปวารณาตัวต่อกันและกัน  (ยินยอมให้ว่ากล่าวตักเตือน) วันนี้ ส่วนมากจเกี่ยวกับพระสงฆ์โดยเฉพาะ

จุดมุ่งหมายของการออกพรรษา

1.  เป็นการสิ้นสุดการอยู่จำพรรษาของพระสงฆ์

2.  เป็นโอกาสที่พระสงฆ์ยินยอมให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้ในทุกกรณี

การปฏิบัติของชาวพุทธในเทศออกพรรษา

1. วันรุ่งขึ้น คือวันแรม 1 ค่ำ  เดือน  11 ไปทำบุญตักบาตร ที่เรียกว่า  ทำบุญตักบาตรเทโวโรหณะ 

 2. ภายในวันระยะ 1 เดือนจากวันออกพรรษา  จะได้ทอดกฐินถวายพระสงฆ์ที่จำพรรษาตามวัดต่างๆ

 

7.  วันพระ  หรือ วันธรรมสวนะ

การกำหนดวัน       คือ วันขึ้น  8  ค่ำ  แรม   8  ค่ำ   และวันขึ้น 15  ค่ำ วันแรม  15  ค่ำ  หรือวัน 14  ค่ำถ้าเป็นเดือนขาด  (เดือนหนึ่ง มี  4 วันเท่านั้น)

ความมุ่งหมาย           คือ  วันนัดกันมาประชุมเพื่อฟังธรรม

ความสำคัญของวันพระ 

1.  เป็นวันที่พุทธศาสนิกชนเข้าวัดฟังธรรมและบำเพ็ญกุศลเป็นพิเศษ

2.  เป็นวันรักษาอุโบสถศีล (ศีล  8) หรือ  ศีล  5 ของชาวพุทธ

3.  เป็นวันที่พระสงฆ์สวดและฟังปาฏิโมกข์โดยพร้อมกัน (เฉพาะวัน 15 ค่ำ ของทุกเดือน)

การปฏิบัติในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

      ทุกวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ชาวพุทธต้องปฏิบัติ ดังนี้

1.  ละเว้นอบายมุขทุกประเภท

2.  ทำบุญตักบาตร ให้ทานต่างๆ

3.  สมาทานศีล รักษาศีล 5 และศีล 8

4.  ฟังพระธรรมเทศนา

5.  ปฏิบัติกรรมฐาน ( นั่งสมาธิ แผ่เมตตา )

6.  ร่วมกันบูชาเวียนเทียนที่วัด  ( ยกเว้นวันเข้าพรรษา และวันออกพรรษา